Home  »  General Tips   »   ศาลสั่งริบรถที่ใช้ในการกระทำผิด ต้องผ่อนกุญแจต่อไปหรือไม่?

ศาลสั่งริบรถที่ใช้ในการกระทำผิด ต้องผ่อนกุญแจต่อไปหรือไม่?

_Court orders forfeiture of motorcycles-0

ตามที่ได้มีข่าวออกมาอยู่บ่อยๆ กรณีศาลมีคำสั่งริบรถที่ใช้ในการกระทำความผิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่หวาดเสียว สร้างความเดือดร้อนรำคาญ หรือใช้ขนของผิดกฎหมาย หรือใช้ก่อคดีอาญาต่างๆ เคยสงสัยหรือไม่ว่า หากรถคันนั้นยังผ่อนอยู่แล้วโดนศาลริบไปจะต้องผ่อนต่อ หรือขอรถคืนได้หรือไม่?

_police-2

กรณีที่ยังผ่อนกับไฟแนนซ์อยู่ โดยปกติแล้วผู้ที่เป็นเจ้าของรถที่แท้จริงก็คือ ไฟแนนซ์ เมื่อผู้เช่าซื้อ เอารถไปใช้ในการกระทำความผิด จนศาลมีคำพิพากษาริบรถคันนั้นตกเป็นของแผ่นดิน งานนี้เมื่อทราบข่าวไฟแนนซ์ก็ต้องมีการไปยื่นคำร้องที่ศาลขอคืนทรัพย์สินนั้น เนื่องจากว่าไฟแนนซ์ไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้เช่าซื้อภายใน 1 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด

 

เมื่อมีการพิสูจน์กันในชั้นศาลแล้วว่าไฟแนนซ์ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงไม่ได้มีส่วนรู้เห็นการกระทำความผิดของผู้เช่าซื้อเลย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 และศาลมีพิพากษาให้คืนทรัพย์สินนั้นแก่ไฟแนนซ์ หลังจากที่ไฟแนนซ์ได้รถกลับมาคืนแล้ว คิดว่าไฟแนนซ์จะเอากลับไปให้ผู้เช่าซื้อที่ใช้รถในการกระทำความผิดนั้นคืนหรือเอาไปขายทอดตลาดแทนหละ?

_police-1

คำตอบในเรื่องนี้นั้น ถ้าไปดูในสัญญาส่วนใหญ่แล้วไฟแนนซ์จะเขียนสัญญาประมาณว่า หากผู้เช่าซื้อนำรถไปใช้ในทางผิดกฎหมาย ไฟแนนซ์สามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที และสามารถเรียกค่าเสียหายได้ด้วย นั่นหมายความว่า เมื่อไฟแนนซ์บอกเลิกสัญญา และนำรถคันดังกล่าวไปขายทอดตลาดเรียบร้อยแล้ว หากยังคงเหลือยอดค้างชำระเท่าไหร่ ไฟแนนซ์ก็จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอีกมากมาย งานนี้ก็คงต้องไปสู้กันในศาลอีกรอบ หรือยอมจ่ายตามจำนวนที่ไฟแนนซ์เรียกร้องมา

 

หากเป็นกรณีมีคนยืมรถที่ยังผ่อนไม่หมด ไปใช้ในการกระทำความผิด ก็ใช้กรณีเดียวกันเพราะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถที่แท้จริงคือไฟแนนซ์ แต่ถ้าเจรจากับไฟแนนซ์ได้ว่าไม่รู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นก็อาจจะพอคุยกันได้

อ่านข่าว General Tips เพิ่มที่นี่


 

เรื่องราว ข่าวสองล้อที่สาวกไบค์เกอร์ต้องรู้ที่

Website : motowish.com 

Facebook : facebook.com/motowish



ห้ามคัดลอกบทความหรือเนื้อหาในเว็บ Motowish