Home  »  General Tips   »   แนวทางสู้คดีไฟแนนซ์ เรียกค่าส่วนต่างในศาล หากผ่อนรถจักรยานยนต์ไม่ไหว

แนวทางสู้คดีไฟแนนซ์ เรียกค่าส่วนต่างในศาล หากผ่อนรถจักรยานยนต์ไม่ไหว

รีวิว Ducati Panigale V4S Full Race 226 แรงม้า "King of Superbikes" รถสปอร์ตที่ดีที่สุดแห่งปี | MOTOWISH 67

วันนี้มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องค่าส่วนต่างที่ถูกไฟแนนซ์ฟ้องเรียกในศาล หากเหล่าไบค์เกอร์ผ่อนรถบิ๊กไบค์ไม่ไหว ถึงแม้ว่ากรณีนี้จะเป็นเรื่องของรถยนต์ แต่สามารถนำมาปรับใช้ได้เพราะเป็นเรื่องของสัญญาเช่าซื้อเหมือนกัน

 

ต้นเรื่องมาจากผู้ใช้เฟสบุ๊คของทนายพี พัชรพล เรื่องมีอยู่ว่า ลูกหนี้ได้เช่าซื้อรถมา 1 คัน แล้วผ่อนได้ 7 งวด จาก 84 งวด ก็หยุดผ่อน ต่อมามีหนังสือจากไฟแนนซ์ให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน หากไม่ชำระจะถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา ต่อมาลูกหนี้ ตัดสินใจส่งรถให้กับไฟแนนซ์คืนก่อนครบกำหนด 30 วันตามหนังสือ

Bigbike finance-2

ไฟแนนซ์นำรถคันดังกล่าวไปขายทอดตลาด ปรากฎว่ายังเหลือส่วนต่างอยู่จำนวนหนึ่ง ไฟแนนซ์เลยทำการฟ้องศาลเพื่อเรียกค่าเสียหาย ลูกหนี้ได้จ้างทนายสู้คดี ผลของคดีปรากฎว่าจากถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย 324,885 บาท ศาลตัดสินให้ลูกหนี้จ่ายเพียง 8,300 บาท

 

แนวทางการสู้คดีนี้ มีข้อสังเกตว่าลูกหนี้ได้คืนรถก่อนครบกำหนด 30 วัน เมื่อถึงวันขึ้นศาลลูกหนี้ได้ยื่นคำให้การเพื่อต่อสู้คดี จนศาลมีคำตัดสินให้จ่ายแค่ค่าขาดไร้ประโยชน์จำนวน 83 วัน วันละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 8,300 บาท ส่วนค่าส่วนต่างที่เอาไปขายทอดตลาดแล้วขาดทุน ศาลยกฟ้องหมด

Bigbike Finance-1-2

ดังนั้น ต้องจำเอาไว้ว่าหากเราคืนรถหรือถูกยึดรถก่อนครบกำหนด 30 วันตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของไฟแนนซ์ ไม่ต้องเสียค่าส่วนต่าง หากลูกหนี้ไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลจะพิพากษาตามฟ้อง หรือตามสัญญาประนีประนอมที่ทำในวันขึ้นศาล ลองคำนวณดูว่าค่าจ้างทนาย กับค่าส่วนต่างที่ต้องจ่ายอันไหนมากกว่ากัน แต่ถ้าคืนรถหลัง 30 วันตามหนังสือบอกเลิกสัญญา จะต้องเสียค่าส่วนต่าง

อ่านข่าว General Tips เพิ่มที่นี่


 

เรื่องราว ข่าวสองล้อที่สาวกไบค์เกอร์ต้องรู้ที่

Website : motowish.com 

Facebook : facebook.com/motowish



ห้ามคัดลอกบทความหรือเนื้อหาในเว็บ Motowish