Home  »  General Tips   »   “โอนลอย” ซื้อขายรถจักรยานยนต์ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย

“โอนลอย” ซื้อขายรถจักรยานยนต์ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย

หากเราเป็นคนหนึ่งที่อยากจะขายรถจักรยานยนต์ไม่ว่าจะให้กับพ่อค้า หรือบุคคลทั่วไป หรืออยากจะซื้อรถจักรยานยนต์ก็ตาม คงคุ้นหูกับคำว่า “โอนลอย” แล้วมันจะมีความปลอดภัยมั้ย ? หรือต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

 

ใครที่มีความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ในการขายรถมาแล้ว อาจจะเห็นว่าคำถามเรื่องการ “โอนลอย” ไม่เห็นที่จะต้องเป็นประเด็นอะไร แต่ไม่น่าเชื่อว่า จากการเปิดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Pantip เว็บไซต์กฎหมาย หรือเว็บไซต์เกี่ยวกับการซื้อขายรถมือสอง ทุกอันจะมีคำถามและคำตอบเรื่องการ “โอนลอย” อยู่เต็มไปหมด

“โอนลอย” ซื้อขายรถจักรยานยนต์ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย

ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ทีมงาน MotoWish เลยอยากรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการโอนลอย ให้กับผู้กำลังจะทำธุรกรรมโอนลอย หรือกำลังมีความสนใจในเรื่องนี้อยู่ ในแง่ของวิธีการปฏิบัติเพื่อความสะดวกในการค้นหามูลแบบครบครัน

 

“โอนลอย” หมายความว่าอะไร ?

 

“การโอนลอย” ตามความหมายของกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า “คือการที่เจ้าของรถได้ขายรถของตนแล้ว และทำการลงนามในเอกสารการโอนรถ และใบมอบอำนาจให้แก่ผู้ซื้อ โดยมิได้มีการดำเนินการทางทะเบียนที่สำนักงานขนส่งฯ”

“โอนลอย” ซื้อขายรถจักรยานยนต์ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย

เอกสารที่ต้องใช้ในการโอนรถ

 

  • สมุดคู่มือทะเบียนรถ

 

มันคือสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับใช้ทำการซื้อขาย แต่แม้จะมีคู่มือแล้วขั้นต้นหากเราเป็นผู้ซื้อ เราต้องตรวจสอบเลขทะเบียนรถว่าตรงกันกับป้ายทะเบียน รวมไปถึงป้ายภาษีหรือไม่ ปีที่จดทะเบียน สี หมายเลขเครื่อง หมายเลขต่างๆ ตรงกับรถที่เราจะทำการซื้อขายหรือไม่ สิ่งสำคัญคือชื่อของเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้ผู้ที่เราจะทำการซื้อขายหรือไม่

 

  • หนังสือสัญญาซื้อขาย

 

เป็นหนังสือสัญญานิติกรรม ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันต้องกรอกทุกรายละเอียด เช่น วันที่, รายละเอียดผู้ขาย, รายละเอียดผู้ซื้อ, ราคาซื้อขาย, กำหนดการมัดจำและรับรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในการโอนว่าผู้ใดเป็นผู้ออกค่าโอน, ลงชื่อผู้ซื้อผู้ขายและพยาน, ระบุวันเวลาที่ขาย และที่ได้รับรถไปแล้ว

 

หนังสือตัวนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างสูง ต้องถือไว้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ใช้แสดงประกอบการโอน มีผลทางกฎหมาย กรณีที่ผู้ซื้อนำรถไปเกิดอุบัติเหตุ หรือใช้รถในการกระทำความผิดกฎหมาย หรือผู้ขายอาจนำไปแจ้งรถหายหรือนำเอกสารไปทำอย่างอื่น ต้องมีการตรวจเช็ครายละเอียดให้ดีทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย แบบของสัญญาซื้อขายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

“โอนลอย” ซื้อขายรถจักรยานยนต์ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย
  • แบบคำขอโอนและรับโอน

 

เป็นหนังสือของทางกรมขนส่งทางบก ต้องใช้เมื่อต้องยื่นประกอบเอกสารการโอนรถยนต์ ต้องระบุวันที่ ชื่อรายละเอียดผู้โอน ผู้รับโอน เลขทะเบียน รายละเอียดเกี่ยวกับรถที่โอน ราคาซื้อขาย และต้องลงรายมือชื่อทั้งผู้โอนและผู้รับโอน ที่ระบุไว้ครบทุกช่อง ดาวน์โหลดได้ที่นี่ 

 

  • สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน

 

เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และต้องมีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งขีดค่าระบุด้วยจุดประสงค์ในการใช้งานสำเนาตัวนี้ด้วย เช่น ระบุว่า “ใช้ในการโอนรถเท่านั้น” หากเราเป็นผู้ซื้อก็ไม่ควรจะละเลยสิ่งนี้ไปเด็ดขาด ผู้ขายก็ควรที่จะขอไว้ด้วยหนึ่งชุดแนบประกอบกับสัญญาซื้อขาย

“โอนลอย” ซื้อขายรถจักรยานยนต์ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย
  • หนังสือมอบอำนาจ

 

เป็นหนังสือที่มอบหมายการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับทะเบียนรถ ซึ่งเจ้าของรถไม่สามารถดำเนินการเองได้ ต้องมีรายละเอียดดังนี้ วันที่, ชื่อผู้มอบและรับมอบ, ระบุรายการที่ผู้มอบอำนาจทำการแทน และลงลายมือชื่อให้ถูกต้องทั้งชื่อผู้มอบ, ชื่อผู้รับมอบ, พยาน และปิดอาการแสตมป์ 10 บาท ดาวน์โหลดได้ที่นี่

 

สำหรับใครที่ต้องการย้ายทะเบียนรถจากอีกจังหวัดเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง มีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

 

  1. ไปที่สำนักงานขนส่ง จังหวัดที่เราต้องการย้ายเพื่อยื่นคำร้องแจ้งย้ายออกและย้ายเข้าปลายทาง
  2. พร้อมหลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
  3. พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถ
  4. นำรถเข้าตรวจสภาพ ในวันนั้นเรายังไม่สามารถย้ายได้เลย เพราะทางปลายทางจะต้องติดต่อไปยังสำนักงานขนส่งฯ ต้นทางตามทะเบียนเพื่อให้ได้ต้นขั้วมาเสียก่อน อาจจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน
  5. เมื่อครบกำหนดเวลากลับมายื่นเอกสารเพื่อขอย้ายเข้า ชำระค่าธรรมเนียมก็เป็นอันเสร็จกระบวนการ

 

ค่าธรรมเนียมการย้าย

 

  • การแจ้งย้ายรถออกปลายทาง รถจักรยานยนต์ 25 บาท ส่วน รถยนต์ 55 บาท
  • การแจ้งย้ายรถเข้าปลายทาง ค่าย้ายเข้า 25 บาท ค่าแผ่นป้ายทะเบียนรถจักรยนต์ยนต์ 100 บาท ส่วนค่าแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ 200 บาท
  • ค่าตรวจสภาพ รถจักรยานยนต์​ 10 บาท ส่วนรถยนต์ 50 บาท
เปิดตัว Yamaha YZF-R1M / YZF-R1 2020 หน้าใหม่ โหด ดุดัน ใส่ออฟชั่นจัดเต็ม | MOTOWISH 11

ข้อสังเกตที่ควรรู้

 

  • การซื้อขายได้ทำสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายและได้มีการชำระเงินส่งมอบและตรวจสภาพรถแล้ว ถือว่ากรรมสิทธิ์เป็นของคนซื้อ เพราะสัญญาซื้อขายเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทะเบียนรถไม่ใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ ถึงยังไม่เปลี่ยนแปลงทะเบียนก็โอนกันได้

 

  • ถ้าสมมุติว่า ผู้ซื้อทราบภายหลังว่ารถยนต์มีการชนมา ก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าซื้อต่อมือที่1 โดยที่ข้าพเจ้าไม่ทราบ จะต้องรับผิดชอบรับคืนรถหรือไม่ คำตอบคือ ถ้าไม่ได้ให้คำรับรองแก่ผู้ซื้อว่ารถไม่เคยถูกชน และผู้ซื้อรู้อยู่แล้วว่าเราเองก็เป็นมือที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดชอบ

 

  • หากในการตรวจสภาพรถยนต์ใช้ได้ปกติแต่ถ้าคนซื้อขับออกไป 1-2 วันแล้วมีปัญหา ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ คำตอบคือ ถ้าก็เหมือนกับข้างบน ในแง่ผู้ซื้อต้องดูว่าผู้ขายระบุรับรองรับประกันความเสียหายไว้หรือไม่ ไม่ใช่แค่ปากเปล่า แต่ต้องเขียนลงไปในสัญญาด้วย ในแง่ผู้ขายถ้าเราไม่ได้รับประกันหรือรับรองเอาไว้ก็ไม่ต้องรับผิดชอบ

 

  • หากผู้ซื้อไม่ได้ไปทำการโอนเป็นชื่อของตนเอง และหากรถเกิดคดีความทางเเพ่งและอาญา ผู้ขายจะมีส่วนหรือไม่ จะอ้างหลักฐานการซื้อขายได้หรือไม่ คำตอบคือ สามารถเอาสัญญาซื้อขายมาอ้างได้ว่าเราได้ทำการซื้อขายไปเรียนร้อยแล้ว (เห็นมั้ย สัญญาซื้อขายสำคัญแค่ไหน)
เปิดตัว Ducati Panigale V4 Superleggera สุดยอดซูเปอร์ไบค์ แรงม้า 234 ตัว | MOTOWISH 4

 

  • รถผ่อนอยู่โอนลอยได้หรือไม่ ? คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะกรรมสิทธิ์ในรถไม่ใช่ของเรา แต่ยังเป็นของไฟแนนซ์ เราเป็นเพียงผู้ครอบครองเท่านั้น ถึงแม้มีสัญญาซื้อขายก็ช่วยไม่ได้นะจ๊ะ เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินของเรา เกิดปัญหาขึ้นมาตัวใครตัวมันเด้อพี่น้อง ทางที่ดีก็จูงมือกันไปหาไฟแนนซ์ให้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อ แน่นอนมันต้องยุ่งยากและมีค่าใช้จ่าย

 

  • ถ้าวันหนึ่งเราซื้อขายโดยการโอนลอยไปแล้ว มีจดหมายจากประกันมาเรียกค่าเสียหายจากเรา ทำยังไงดี ? วิธีการคือ สวนกลับประกันไปโดยทำหนังสือตอบไปว่า เราได้ทำการซื้อขายไปและได้ส่งมอบรถไปแล้ว แนบสำเนาเอกสารสัญญาซื้อขาย พร้อมสำเนาบัตรผู้ซื้อไปด้วย มีรูปถ่ายแนบไปด้วยก็ดีจะได้จบๆ ทีเดียว สุดท้ายเราก็ไม่ต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

 

  • หากเรากำลังจะซื้อรถที่ผ่านมาโอนลอยมาหลายทอด เราก็ควรที่จะใช้ความระมัดระวังอย่างถึงขีดสุด อย่าเพิ่งหน้ามืดตามัวกับราคาขายที่แสนจะเย้ายวน เพราะถ้าเจ้าของรถคนที่โอนลอยนั้นเกิดเสียชีวิตมาหลังจากโอนลอยแล้ว มันจะยุ่งยากกันเข้าไปใหญ่

 

  • หากอยู่ๆ มีหนังสือจากขนส่งฯ ให้เสียภาษี หรือใบค่าปรับตำรวจ มาบ้านเรา จะทำยังไง ? กรณีขนส่งฯ ถ้ารถไม่ได้ต่อภาษี 3 ปี ทะเบียนรถคันนั้นก็จะถูกระงับ รถขายไปแล้วและไม่ได้อยู่กับเราแล้วก็ไม่ต้องกังวลอะไร แต่แนะนำให้ป้องกันตัวเองแจ้งกับขนส่งฯ ไปว่าเราได้ขายแบบโอนลอยไปแล้ว โดยแสดงหลักฐานการซื้อขาย และในกรณีค่าปรับของตำรวจ ก็ใช้วิธีการเดียวกัน เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองเช่นกัน
ชมภาพ และเสียงคำราม Honda CBR1000RR-R 2020 สเปค British Superbike | MOTOWISH 1

แน่นอนว่าการซื้อขายแบบ “โอนลอย” นั้นมีความคล่องตัวอย่างมากสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย เพียงแค่การเซ็นๆ กันต่อหน้า แล้วก็รับเงินจ่ายเงิน เดินหันหลังให้กันไป เพื่อความสะบายใจผู้ซื้อควรไปดำเนินการทางทะเบียนให้เรียบร้อยภายใน 1-2 สัปดาห์ เพราะมันไม่ใช่ขั้นตอนที่ยุ่งยากอะไร และผู้ขายที่ไม่ใช่พ่อค้า ก็ควรที่จะเก็บสัญญาฉบับนั้นเอาไว้ดีๆ อย่าลืมว่าก่อนเซ็นชื่อในสัญญาควรอ่านเสียก่อน ถึงแม้แบบฟอร์มมันจะเป็นแบบฟอร์มที่ปริ้นมาจากเน็ต!!

 

สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคน จำคำนี้ไว้ “ถ้าเน้นสะดวก ความยุ่งยากตามมาเอง” หากเป็นประเด็นทางกฎหมายขึ้นมาแล้ว ทุกอย่างมันไม่ง่าย !!! ทีมงาน MotoWish หวังว่าทุกท่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับการโอนลอยไปไม่มากก็น้อย พร้อมทั้งมีความรอบคอบในการทำนิติกรรมต่างๆ

Source Cr.: Kapook

อ่านข่าว General Tips เพิ่มที่นี่


 

เรื่องราว ข่าวสองล้อที่สาวกไบค์เกอร์ต้องรู้ที่

Website : motowish.com 

Facebook : facebook.com/motowish



ห้ามคัดลอกบทความหรือเนื้อหาในเว็บ Motowish