Home  »  Motorsport   »   รู้ไว้ก่อน!! เชียร์ทีมแข่งสายเลือดไทยในศึกยิ่งใหญ่แห่งเอเชีย “ซูซูกะ เอ็นดูรานซ์ 4 ชั่วโมง” กติกาเป็นยังไง

รู้ไว้ก่อน!! เชียร์ทีมแข่งสายเลือดไทยในศึกยิ่งใหญ่แห่งเอเชีย “ซูซูกะ เอ็นดูรานซ์ 4 ชั่วโมง” กติกาเป็นยังไง

รู้ไว้ก่อน!! เชียร์ทีมแข่งสายเลือดไทยในศึกยิ่งใหญ่แห่งเอเชีย "ซูซูกะ เอ็นดูรานซ์ 4 ชั่วโมง" กติกาเป็นยังไง | MOTOWISH 1

ใกล้เข้ามาทุกทีสำหรับเกมดวลความเร็วรายการใหญ่แห่งเอเชีย “ซูซูกะ เอ็นดูรานซ์ 4 ชั่วโมง” ซึ่งเตรียมจัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ ก่อนติดตามเชียร์ทีมแข่งสายเลือดไทย ขอเชิญชวนแฟนมอเตอร์สปอร์ต มาทำความรู้จักศึกบิดอันสุดแสนทรหดนี้กันหน่อย

 

 

 

ตามที่ บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด ผู้นำวงการมอเตอร์สปอร์ตเมืองไทย ได้แถลงนโยบายมอเตอร์สปอร์ตประจำปี 2018 ไปแล้ว โดยหนึ่งในนั้นมีภารกิจที่สำคัญ คือ การส่งทีมแข่งไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งนักบิด ทีมช่าง และสมาชิกทุกคนภายในทีม เพื่อสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งในศึกใหญ่ระดับนานาชาติ “ซูซูกะ เอ็นดูรานซ์ 4 ชั่วโมง” ณ สนามซูซูกะ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเตรียมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม นี้

 

โดยก่อนเกมการแข่งขันดังกล่าวจะระเบิดความเร้าใจขึ้น โอกาสนี้จึงขอเชิญชวนแฟนมอเตอร์สปอร์ตชาวไทย ให้มาทำความรู้จักศึกบิดอันสุดแสนหฤโหดนี้กันก่อน

 

ศึกทดสอบความแกร่งรายการใหญ่แห่งเอเชีย เริ่มต้นจัดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1978 ภายใต้ชื่อ ซูซูกะ 8 ชั่วโมง (Suzuka 8 hours) และเพิ่งเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปีเมื่อปีก่อน ซึ่งในการจัดดวลความเร็วปีที่ 41 หรือในปี 2018 นี้ ยังคงความตื่นเต้นและท้าทายเช่นเดิม เพราะจะต้องใช้เป็นสังเวียนสุดท้ายของการเก็บคะแนนสะสม ในรายการแข่งขันระดับเวิล์ดแชมเปียนชิพด้วย

 

สำหรับรายละเอียดของสนามซูซูกะ อินเตอร์เนชั่นแนล เรซซิ่ง คอร์ส เป็นสนามแข่งรถที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่เมืองซูซูกะ จังหวัดมิเอะ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1962 ผ่านการดีไซน์โดยนักออกแบบสนามชาวดัตช์ John Hugenholtz ซึ่งมีเอกลักษณ์รูปแบบการวิ่งคล้ายวงแหวนเลขแปด มีระยะทางต่อรอบรวมทั้งสิ้น 5.821 กิโลเมตร ประกอบด้วยจำนวนโค้ง 18 โค้ง สามารถรองรับผู้ชมเต็มความจุได้ถึง 155,000 ที่นั่ง สูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และอันดับที่ 8 ของโลก

 

ขณะที่นักแข่งผู้ยิ่งใหญ่ระดับตำนาน ซึ่งเคยสัมผัสประสบการณ์และประสบความสำเร็จในรายการนี้ ได้แก่ Kenny Roberts, Tadahiko Taira, Eddie Lawson, Wayne Rainey, Kevin Schwantz และ Michael Doohan (Mick Doohan)

 

ขณะเดียวกันตัวแข่งค่ายปีกนกที่ลงดวลความเร็วพิสูจน์ความอึดจากศึกโหด 40 ครั้งที่ผ่านมา สามารถชิงตำแหน่งผู้ชนะมาได้ถึง 27 ครั้ง จากโมเดลต่างๆ ดังนี้

 

  • Honda CB900F (จัดแข่งครั้งที่ 2 ปี 1979)
  • Honda RS1000 (จัดแข่งครั้งที่ 4 ปี1981)
  • Honda CB900F (จัดแข่งครั้งที่ 5 ปี 1982 )
  • Honda RS750R (จัดแข่งครั้งที่ 7 ปี 1984)
  • Honda RVF750 (จัดแข่งครั้งที่ 8 ปี 1985)
  • Honda RVF750 (จัดแข่งครั้งที่ 9 ปี 1986)
  • Honda RVF750 (จัดแข่งครั้งที่ 12 ปี 1989)
  • Honda RVF750R (จัดแข่งครั้งที่ 14 ปี 1991)
  • Honda RVF750R (จัดแข่งครั้งที่ 15 ปี 1992)
  • Honda RVF/RC45 (จัดแข่งครั้งที่ 17 ปี 1994)
  • Honda RVF/RC45 (จัดแข่งครั้งที่ 18 ปี 1995)
  • Honda RVF/RC45 (จัดแข่งครั้งที่ 20 ปี 1997)
  • Honda RVF/RC45 (จัดแข่งครั้งที่ 21 ปี 1998)
  • Honda RVF/RC45 (จัดแข่งครั้งที่ 22 ปี 1999)
  • Honda VTR1000SPW (จัดแข่งครั้งที่ 23 ปี 2000)
  • Honda VTR1000SPW (จัดแข่งครั้งที่ 24 ปี 2001)
  • Honda VTR1000SPW (จัดแข่งครั้งที่ 25 ปี 2002)
  • Honda VTR1000SPW (จัดแข่งครั้งที่ 26 ปี 2003)
  • Honda CBR1000RRW (จัดแข่งครั้งที่ 27 ปี 2004)
  • Honda CBR1000RRW (จัดแข่งครั้งที่ 28 ปี 2005)
  • Honda CBR1000RR (จัดแข่งครั้งที่ 29 ปี 2006)
  • Honda CBR1000RRW (จัดแข่งครั้งที่ 31 ปี 2008)
  • Honda CBR1000RRK (จัดแข่งครั้งที่ 33 ปี 2010)
  • Honda CBR1000RRW (จัดแข่งครั้งที่ 34 ปี 2011)
  • Honda CBR1000RRW (จัดแข่งครั้งที่ 35 ปี 2012)
  • Honda CBR1000RRW (จัดแข่งครั้งที่ 36 ปี 2013)
  • Honda CBR1000RRW (จัดแข่งครั้งที่ 37 ปี 2014)

 

ส่วนความเชื่อมโยงถึงรุ่น 4 ชั่วโมง มีที่มาที่ไปหลังจากการแข่งขันประเภท 8 ชั่วโมง ได้ถูกยกระดับขึ้นไปให้เป็นหนึ่งในเวทีประลองความเร็วของศึกชิงแชมป์โลก ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา ทางผู้จัดฯ จึงเกิดไอเดียว่า ควรเพิ่มรุ่นประเภท 4 ชั่วโมง และจัดแข่งขันควบคู่กัน เพื่อเปิดโอกาสให้ทีมแข่งหน้าใหม่ได้มีสนามในการประลองฝีมือด้วย

 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกติกาการแข่งขัน มีการปรับเปลี่ยนม้าศึกรถสปอร์ตโปรดักต์ชั่นไบค์ ขนาด 1,000 ซีซี. ที่ใช้อยู่ในรุ่น 8 ชั่วโมง เปลี่ยนมาเป็นคลาสซูเปอร์สปอร์ต 600 ซีซี. หากแต่ด้านรูปแบบการแข่งขันนั้น แทบไม่แตกต่างกับประเภท 8 ชั่วโมง เท่าไรนัก หากเปรียบเทียบเป็นการแข่งขันวิ่งมาราธอน การแข่ง 4 ชั่วโมงก็เสมือนการวิ่งฮาร์ฟมาราธอน เพียงแต่ลดระยะทางลงมาครึ่งหนึ่งเท่านั้นเอง

 

ส่งท้ายสำหรับการแข่งขันจะตัดสินผลเเพ้ชนะ ด้วยจำนวนรอบของแต่ละทีมในระยะเวลา 4 ชั่วโมง โดยทีมที่สามารถทำรอบได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่แฟนมอเตอร์สปอร์ตชาวไทยควรรู้ไว้ ก่อนติดตามเชียร์ทีมแข่งสายเลือดไทยในศึกใหญ่แห่งเอเชีย ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม นี้

 

 

 

แฟนๆ กีฬามอเตอร์สปอร์ตสามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวและส่งกำลังใจแรงเชียร์นักบิดไทย เอ.พี. ฮอนด้า เรซซิ่ง ไทยแลนด์ ได้ทางเว็บไซต์ www.aphondaracingthailand.com

Source Cr.: A.P. Honda

อ่านข่าว Motorsport เพิ่มที่นี่

อ่านข่าว Honda เพิ่มที่นี่


 

เรื่องราว ข่าวสองล้อที่สาวกไบค์เกอร์ต้องรู้ที่

Website : motowish.com 

Facebook : facebook.com/motowish



ห้ามคัดลอกบทความหรือเนื้อหาในเว็บ Motowish