Home  »  News Talk   »   พาไปดูอุปกรณ์ตรวจจับ Track Limit ในการแข่งขัน “โมโตจีพี” ทำงานยังไง

พาไปดูอุปกรณ์ตรวจจับ Track Limit ในการแข่งขัน “โมโตจีพี” ทำงานยังไง

motogp-track-limit-2

เพื่อให้การตัดสินการแข่งขันโมโตจีพี ทั้ง 3 รุ่น เป็นไปอย่างยุติธรรม จึงได้มีการใช้อุปกรณ์ตรวจจับ Track Limit ขึ้นในฤดูกาล 2021 มาดูกันว่ามีหน้าตาอย่างไรและทำงานยังไง

_Technique_Track_Limits_Camera-1

เมื่อปี 2020 ได้มีการใช้กล้องความละเอียดสูงในทุกจุดของสนามเพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งขัน รวมถึงนักแข่งที่ขับขี่ล้น Track Limit โดยสังเกตได้ง่ายๆ จากพื้นสีเขียวที่ทาเอาไว้ หากนักแข่งคนใดล้อล้นออกไปยังพื้นที่ดังกล่าวทั้งสองล้อก็จะถูกลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นการเตือน หรือการปรับตำแหน่งให้ตกลงไปอีก 1 ตำแหน่ง

 

แต่เพื่อให้ความเป็นธรรมต่อนักแข่งทุกคนและไม่มีข้อครหาจากการตรวจสอบผ่านกล้องความละเอียดสูง จึงได้มีการนำเอาระบบเซ็นเซอร์ความดันเข้ามาแทนที่ โดยจะมีเส้นลวดสีดำขึงเอาไว้ตรงบริเวณจุดที่กำหนดไว้เป็น Track Limit เมื่อมียางรถมาสัมผัสแรงดันจะไปกระตุ้นเซ็นเซอร์ที่วางเอาไว้ ดังนั้นหากรถแข่งหลุดออกจากแทร็คยางหลังของรถยังไงก็จะไปเหยียบเซ็นเซอร์แล้วจะมีการส่งข้อมูลไปยังทีมเทคนิคของฝ่ายจัดการแข่งขัน

_Technique_Track_Limits_Cable-1

เซ็นเซอร์ความดันเป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดแรงดันโดยการแปลงแรงดันไฟฟ้าทางกลเป็นสัญญาณไฟฟ้า แรงที่ได้รับจากยางที่หมุนมาทับบริเวณเส้นลวดดังกล่าวทำให้เส้นลวดมีการเปลี่ยนแปลงและความต้านทานของลวดเปลี่ยนไปทำให้สามารถแปลงแรงดันไฟฟ้าออกมาเป็นตัวเลขได้

 

ทำไมถึงต้องใช้อุปกรณ์​ตัวนี้ ก็เพราะว่า การแข่งขันโมโตจีพีนั้นต้องการการแข่งขันที่สมูทไปตลอดจนจบการแข่งขัน การตัดสินลงโทษจึงต้องมีความยุติธรรมและถูกต้องที่สุดในขณะแข่งขัน จึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะมาช่วยกรรมการตัดสินได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดข้อโต้แย้งในภายหลัง ซึ่งเจ้าอุปกรณ์ตรวจจับตัวนี้ก็ไม่ได้ทำงานเพียวๆ ยังมีกล้องความละเอียดสูงที่เอาไว้จับภาพเพื่อเป็นหลักฐานคู่กันไป

motogp track limit-3

หากใครเคยสังเกต เมื่อก่อนนั้นจุดที่เป็น Track Limit นั้นบริเวณสีเขียวจะเป็นพื้นปูด้วยหญ้า ตามด้วยบ่อกรวด  ซึ่งหากนักแข่งคนไหนหลุดมาตรงจุด Track Limit ก็อาจจะเจอกับอุบัติเหตุ หรือการขับขี่ที่สะดุดได้ ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนเป็นการลาดยางทับลงไปแล้วทาสีเขียวทับ เพื่อความปลอดภัยของนักแข่ง ถ้าใครเคยสังเกตที่สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต เมื่อก่อนก็เป็นการปูหญ้าเช่นเดียวกัน แต่หลังจากมีการให้คำแนะนำจากรายการใหญ่ๆ ที่เข้ามาทำการแข่งขัน ก็ได้มีการปรับแต่งสนามให้เป็นแบบเดียวกับสนามอื่นๆ ทั่วโลก

 

สำหรับใครที่อยากรู้ว่ากติกาเกี่ยวกับเรื่อง Track Limit เป็นอย่างไร สามารถอ่านได้ที่นี่

Source Cr.: Paddock-GP

อ่านข่าว Motorsport เพิ่มที่นี่

อ่านข่าว MotoGP เพิ่มที่นี่


 

เรื่องราว ข่าวสองล้อที่สาวกไบค์เกอร์ต้องรู้ที่

Website : motowish.com 

Facebook : facebook.com/motowish



ห้ามคัดลอกบทความหรือเนื้อหาในเว็บ Motowish