Home  »  Motorsport   »   อาร์มปั๊ม (Arm Pump) คืออะไร? “ก้อง” สมเกียรติ จันทรา ก็ต้องผ่าเหมือนกัน

อาร์มปั๊ม (Arm Pump) คืออะไร? “ก้อง” สมเกียรติ จันทรา ก็ต้องผ่าเหมือนกัน

somkiat chantra indonesia

อาร์มปั๊ม เป็นปัญหาของแขน เรื่องเบสิคที่นักแข่งรถจักรยานยนต์นั้นต้องเจอกัน เรียกได้ว่าเป็นอาการสามัญประจำบ้านกันเลยทีเดียว “ก้อง” สมเกียรติ จันทรา นักแข่งไทยที่คว้าแชมป์ที่ประเทศอินโดนีเซียก็มีร่องรอยการผ่าตัดบริเวณแขนเช่นเดียวกัน

Somkiat chantra-11

อาร์มปั๊ม (Arm Pump) เกิดขึ้นได้อย่างไร?

 

อาการอาร์มปั๊มของนักแข่งโมโตจีพี แทบจะเรียกได้ว่าเป็นอาการสามัญประจำตัวนักแข่งเลยก็ว่าได้ โดยศัพท์ทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า Chronic Exertional Compartment Syndrome (CECS) เป็นอาการบาดเจ็บที่จะทำให้มีอาการชา หรือเจ็บปวดอย่างรุนแรงบริเวณแขน แต่ก็จะหายไปหลังจากหยุดขี่ประมาณ 20 นาที

 

สาเหตุเกิดมาจากการกำและเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณแขนที่เกิดจากการขับขี่รถแข่ง ทำแบบนี้นานเข้า พังผืดที่ไม่สามารถยืดหยุ่นซึ่งห่อหุ้มกล้ามเนื้อเอาไว้ ชื่อว่า Fascia ได้รับความต้องการในการขยายตัวของกล้ามเนื้อมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดลำบากขึ้น ประกอบกับออกซิเจนในเลือดต่ำลง เมื่อกล้ามเนื้อไม่สามารถขยายได้ ก็กลับกลายเป็นการบีบรัดแทน

นำมาสู่อาการชาบริเวณแขน หรือปวดอย่างรุนแรง แขนไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จนทำให้ประสิทธิภาพการควบคุมรถของนักแข่งที่ต้องใช้แขนซึ่งเป็นส่วนสำคัญไม่สามารถควบคุมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการกำเบรก หรือการประคองรถ หรือแม้แต่การเข้าโค้ง จนทำให้ไม่สามารถขี่รถได้ดั่งใจที่หวั่งเอาไว้

 

ถ้าใครอยากรู้ว่าอาการอาร์มปั้มนั้นเป็นอย่างไร ให้ลองกำมือ หรือกำอะไรก็ได้แบบสุดแรงเกิด เกร็งหนักๆ แล้วคลายออก ทำแบบนี้ติดๆ กันหลายครั้ง อาการอาร์มปั๊มก็จะเริ่มเผยออกมาให้เห็น

การวินิจฉัยอาการอาร์มปั๊ม

 

แต่ก่อนนั้นใช้วิธีสอดเข็มเข้าไปยังบริเวณแขนที่ได้รับบาดเจ็บแล้วมีการทดสอบความดันของกล้ามเนื้อ แต่ปัจจุบันมีวิธีที่ไม่ต้องเจ็บตัวนั่นก็คือการทำ MRI รวมไปถึงวิธี NIRS เป็นเทคนิควัดออกซิเจนในเลือดบริเวณจุดที่มีปัญหา

 

วิธีการรักษาอาร์มปั๊ม

 

ปัจจุบันมีวิธีเดียวคือการผ่าตัดที่เรียกว่า Fasiotomy เท่านั้น โดยเอาใยกล้ามเนื้อบางส่วนออกเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

 

การฟื้นตัวหลังรักษา

 

โดยปกติการฟื้นตัวจะอยู่ที่ประมาณ 6 สัปดาห์ แต่สำหรับนักแข่งรถอาจใช้เวลาไม่นานขนาดนั้น เพราะวิธีการผ่าตัดที่ไม่สร้างบาดแผลขนาดใหญ่ แต่ก็ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะหายเร็วกว่ากันเพียงใดขึ้นอยู่กับร่างกาย และกิจกรรมที่กระทบกระเทือน

Source Cr.: intentsgp, แสน 8 โฟโต้

อ่านข่าว Motorsport เพิ่มที่นี่

อ่านข่าว MotoGP เพิ่มที่นี่


 

เรื่องราว ข่าวสองล้อที่สาวกไบค์เกอร์ต้องรู้ที่

Website : motowish.com 

Facebook : facebook.com/motowish



ห้ามคัดลอกบทความหรือเนื้อหาในเว็บ Motowish